ประวัติ

เรียนๆป๊ะ

ต้องมีวันของเรา

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
กลุ่มสาระ/สาขาวิชา หน่วยร่างกายของฉัน
ชื่อวิชา ร่างกายของฉัน ระดับ อนุบาล 2 ภาคการศึกษาปีที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ร่างกายของฉัน เวลาเรียน 5 คาบ

หัวข้อ
วันที่ 1 เกมจับคู่ภาพที่ซ่อนในรูปเรขาคณิต เวลาเรียน 1 คาบ
วันที่ 2 เกมจับคู่ภาพจำนวนเท่ากัน 1-5 เวลาเรียน 1 คาบ
วันที่ 3 เกมภาพตัดต่อร่างกายของฉัน เวลาเรียน 1 คาบ
วันที่ 4 เกมจับคู่หาความสำพันธ์ภาพแบบเขาวงกต เวลาเรียน 1 คาบ
วันที่ 5 เกมจับคู่ภาพบ้านสีเหมือนกัน เวลาเรียน 1 คาบ

อาจารย์ผู้สอน น.ส. กิตติยา การเร็ว

1. สาระสำคัญ
    ให้เด็กๆได้รู้จักตนเอง และส่งเสริมให้เด็กๆมีความเข้าใจในตัวเองได้ดียิ่งขึ้น จะได้เรียนรู้การออกกำลังกาย จากการเล่น การไปเที่ยวพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตสมบูรณ์ รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น การเล่นกับเพื่อนๆ และการเรียนรู้กฎกติกา การเล่นต่างๆและสามารถเรียนรู้ได้ดีจากการลงมือกระทำ การสังเกต การใช้ความคิด โดยใช้ระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา ( การมองเห็น )
หู ( การได้ยิน ) จมูก ( การดม ) ลิ้น ( การชิมรส ) และมือ ( การสัมผัส )

2. มาตรฐานการเรียนรู้ และ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
วันที่ 1 - เกมจับคู่ภาพที่ซ่อนในรูปเรขาคณิต
- พัฒนาทักษะการสังเกตรูปร่างที่เหมือนกัน-แตกต่างกัน
- พัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
- มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ
- เล่นเป็นกลุ่มจะช่วยพัฒนาด้านอารมณ์-สังคม
วันที่ 2 - เกมจับคู่ภาพจำนวนเท่ากัน 1-5
- พัฒนาทักษะการสังเกตและเปรียบเทียบจำนวนที่เท่ากัน1-5
- พัฒนาทักษะการเรียงลำดับจำนวน 1-5
- รู้ค่าจำนวน 1-5
- พัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
- มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ
- เล่นเป็นกลุ่มจะช่วยพัฒนาด้านอารมณ์-สังคม
วันที่ 3 - เกมภาพตัดต่อร่างกายของฉัน
- พัฒนาทักษะการสังเกต สี รูปร่าง และรายละเอียดของภาพ
- พัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
- มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ
- เล่นเป็นกลุ่มจะช่วยพัฒนาด้านอารมณ์-สังคม
วันที่ 4 - เกมจับคู่หาความสัมพันธ์ภาพแบบเขาวงกต
- พัฒนาทักษะการสังเกตและคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะกับของใช้คู่กัน
- พัฒนากล้ามเนื้อมือและการเคลื่อนสายตา
- พัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
- มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ
- เล่นเป็นกลุ่มจะช่วยพัฒนาด้านอารมณ์-สังคม
วันที่ 5 - เกมจับคู่ภาพบ้านสีเหมือนกัน
- พัฒนาทักษะการสังเกตความเหมือน-ความต่าง
- พัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
- มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ
- เล่นเป็นกลุ่มจะช่วยพัฒนาด้านอารมณ์-สังคม

3. เนื้อหา
ให้เด็กนักเรียน รู้จักอวัยวะต่างๆของร่างกาย
- ตา
- หู
- จมูก
- ปาก
- ลิ้น
- ฟัน
- มือ

4. จุดประสงค์การเรียนรู้
- ฝึกการสังเกตรูปร่างที่เหมือนกัน-ต่างกัน
- ฝึกการสังเกตและเปรียบเทียบรายละเอียดของภาพ
- ฝึกการสังเกตและเปรียบเทียบจำนวนที่เท่ากัน1-5
- ฝึกเรียงลำดับจำนวน 1-5
-ฝึกการสังเกต สี รูปร่าง และรายละเอียดของภาพ
-ฝึกการสังเกตและหาความสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะกับสิ่งของที่ใช้คู่กัน
- ฝึกการเคลื่อนสายตาตามแนวที่กำหนด
- ฝึกกล้ามเนื้อ
- ฝึกการสังเกตสีที่เหมือนกัน-ต่างกัน
- เรียนรู้เรื่องสี

5. กระบวบการจัดการเรียนรู้
1. ขั้นการนำสู่บทเรียน
ให้เด็กนักเรียนวาดรูปตนเองโดยมองจากกระจก
2. ขั้นดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การใช้รูปภาพเรขาคณิตเป็นสื่อการสอน ให้เด็กๆจับคู่ภาพที่ซ้อนกันในรูปเรขาคณิตเพื่อให้เด็กๆสังเกตรูปร่างรูปทรงที่แตกต่างกัน-เหมือนกัน และภาพคนที่แสดงอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างชัดเจน เช่น เพศ ( ชาย-หญิง ) อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย ตา หู จมูก ปาก ลิ้น ฟัน มือ และอธิบายว่าอวัยวะแต่ละส่วนมีหน้าที่อย่างไร
3. ขั้นสรุป
เพื่อส่งเสริมให้เด็กๆมีความรู้ความเข้าใจในตัวเองมากขึ้น เด็กๆได้เรียนรู้จักตนเอง ประโยชน์จากการเล่น การออกกำลังกายกลางแจ้ง การพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตสมบูรณ์ รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น การเล่นกับเพื่อนๆและการเรียนรู้กฎกติกาการเล่นต่างๆ และสามารถเรียนรู้ได้ดีจากการลงมือกระทำ การสังเกต การใช้ความคิดโดยใช้ ประสาทสัมพันธ์ทั้ง 5 คือ การมองเห็น ( ตา ) การดม ( จมูก ) การได้ยิน ( หู ) การชิมรส ( ลิ้น )
และการสัมพันธ์ ( มือ )


6. กิจกรรมเสนอแนะ
-ให้เด็กๆดูภาพคน สนทนาเกี่ยวกับอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย
-ให้เด็กๆบอกอวัยวะใดมีจำนวน 1 และอวัยวะใดมี 2
-ให้เด็กๆแตะอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายตามที่ครูสั่ง เช่น แตะศีรษะ แตะจมูก แตะหู
และ แตะปาก เป็นต้น

7. ชิ้นงาน/หลักฐานการเรียนรู้ของผู้เรียน
- การทำศิลปะสร้างสรรค์อิสระ และที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย

8. สื่อ
- รูปภาพทรงเรขาคณิต
- ภาพตัดต่อควรตัดจำนวน 8-10 ชิ้น
- รูปอวัยวะของมนุษย์
- กระดาษสีตัดประกอบเป็นรูปแทนการระบายสี

9. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
- การทำแบบฝึกหัด เครื่องมือ คือ แบบฝึกหัด
- การตรวจผลงาน เครื่องมือ คือ ชิ้นงาน/ผลงาน
- การสนทนา เครื่องมือ คือ การตอบคำถาม
- การสังเกตการณ์มีส่วนร่วมในกิจกรรม เครื่องมือ คือ แบบสังเกต
- การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน เครื่องมือ คือ แฟ้มสะสมงาน

10. การบูรณาการ
- วิชา ภาไทย
- วิชา สังคมศึกษา
- วิชา คณิตศาสตร์
- วิชา วิทยาศาสตร์
- วิชา ศิลปะ



11 บันทึกหลังการสอน
1 ผลสำเร็จ/ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
- เด็กๆสามารถบอกชื่ออวัยวะต่างๆของร่างกายได้
- พัฒนาความสามารถทางภาษาในการฟัง พูด อ่าน เขียน
- การทรงตัวและประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็ก กล้ามเนื้อใหญ่
- ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
- พัฒนาพื้นฐานด้านดนตรี การเคลื่อนไหวและจังหวะ ตามจินตนาการ
- มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
- ช่วยเหลือตนเองได้
2 ปัญหาการจัดการเรียนการสอน
-เด็กๆแต่ละคนมีความสนใจที่แตกต่างกัน และมีความสนใจในแต่ละเรื่องในระยะเวลาที่สั้น
3 ข้อเสนอแนะ
- ภาพที่แสดงอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายและหน้าที่ของอวัยวะต่างๆนั้นควรเป็นในรูปของ VCD เพราะอวัยวะส่วนต่างๆจะได้มีการเคลื่อนไหว ให้เด็กๆได้เห็น เพราะเวลาครูอธิบายเด็กๆยังอาจไม่เข้าใจเพราะครูให้ดูภาพนิ่ง เด็กๆอาจจะเกิดความสงสัยได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น